วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 3



นายปัญญา  นิรันดร์กุล
       พิธีกรรายการ
1.ประวัติส่วนตัว
-ปัญญา นิรันดร์กุล มีชื่อเล่นว่า ตาเกิดเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2497 ในครอบครัวชาวไทยเชื้อสายจีน มารดาชื่อ นางอำพัน นิรันดร์กุล แม่ดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2546[1] ปัญญาได้รับพระราชทานปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในปี พ.ศ. 2520
-ปัญญาสมรสกับ นางวาสนา นิรันดร์กุล มีบุตร-ธิดารวม 4 คน คือ น้ำตาล-ปานวาด (เกิด: พ.ศ. 2527) , น้ำหอม-ปานตา (เกิด พ.ศ. 2530)  น้ำทอง-ปานฝัน (เกิด: พ.ศ. 2531) และ น้ำมนต์-ปรวัธน์ (เกิด: พ.ศ. 2537)
-ปัจจุบัน ปัญญามีบ้านพักอยู่ภายในหมู่บ้านเมืองเอก ย่านรังสิต ใกล้กับ เวิร์คพอยท์สตูดิโอ ที่ทำการใหม่ของ บมจ.เวิร์คพอยท์ฯ มูลค่ากว่า 400 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นสตูดิโอถ่ายทำรายการโทรทัศน์ และละครโทรทัศน์ ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย
ด้านการทำงาน
- เข้าวงการบันเทิงครั้งแรก ด้วยการเป็นสมาชิกของรายการ เพชฌฆาตความเครียด ใช้ชื่อว่า ซูโม่ตา
และ เคยแสดงภาพยนตร์และละครโทรทัศน์อยู่หลายเรื่อง และ ต่อมาได้เป็นพิธีกร ในรายการต่างๆ
ของ เจเอสแอล เช่น พลิกล็อก ฯลฯ
- เป็นพิธีกรชื่อดังหลายรายการ

หนทางสู่ความสำเร็จ
- ในปี พ.ศ. 2532 นายปัญญา นิรันดร์กุล และ นายประภาส ชลศรานนท์ ได้ร่วมกันก่อตั้ง บริษัท เวิร์คพอยท์
เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ผลิตรายการมากมาย โดยรายการแรกของบริษัท คือ เวทีทอง
- ปัญญา ถือเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงอย่างมากในวงการบันเทิง และ กิจการของ ปัญญา เจริญเติบโตขึ้น
เป็นลำดับ จนได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2547
- ปัจจุบัน ปัญญา มีบ้านพักอยู่ภายใน หมู่บ้านเมืองเอก ย่านรังสิต ใกล้กับ สตูดิโอเวิร์คพอยท์ ที่ทำการใหม่
ของ บมจ.เวิร์คพอยท์ฯ มูลค่ากว่า 400 ล้านบาท ซึ่งถือเป็น สตูดิโอถ่ายทำรายการโทรทัศน์ ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย
2.ผลงานของนักวิชาการ
- 1 ธันวาคม 2548 รายการที่ผลิตโดยบริษัทของตนคว้ารางวัลจากการประกาศผลรางวัลในงานเอเชียน
เทเลวิชั่น อวอร์ดส์ 2005” ที่จัดขึ้น ณ ประเทศสิงคโปร์ รายการกล่องดำคว้ามาได้ 2 รางวัล คือ Best
Entertainment Presenter และ Best Game or Quiz Show ส่วนรายการแฟนพันธุ์แท้ กับรายการเกม
ทศกัณฐ์ ได้รับรางวัลที่ 2 และ 3 ตามลำดับ
- ปัจจุบันเวิร์คพอยท์ มีรายการที่ผลิตให้กับช่องต่างๆ ราว 20 รายการ อาทิ รายการชิงร้อย ชิงล้านฯ,
แฟนพันธุ์แท้, ระเบิดเถิดเทิง, เกมทศกัณฐ์ เป็นต้น
แนวคิดในการทำงาน
- ทุกรายการจะมีแนวคิดการนำเสนอแตกต่างกัน ที่สำคัญทุกรายการเกิดจากภูมิปัญญาของเขาและทีมงาน
ไม่มีการกอปปี้ หรือเลียนแบบรายการใดๆ
ถ้าคุณคิดจะกอปปี้ คุณก็ตายตั้งแต่แรกเริ่มแล้ว เพราะเมื่อไรเขาหยุดคุณก็หยุดด้วย
เพราะคุณคิดเองไม่เป็น
- เป็นเจ้าของเกมโชว์รายการแรกๆที่ กล้าลงทุน อย่างเช่นรายการชิงร้อยชิงล้าน ต้องมีฉากและการแสดง
อันตระการตา รวมทั้งการให้ความสำคัญในทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นแดนเซอร์ หรือคอรัส ซึ่งเป็นจุดดึงดูดคนดู
ที่สำคัญ ทำให้รายการนี้น่าดู นอกเหนือไปจากการแสดงความสามารถพิเศษของแก๊ง 3 ช่า
- "จุดแข็งของเราคืองานครีเอทีฟ ที่มีความยืดหยุ่นสามารถปรับเปลี่ยนได้ เพิ่มได้ ลดได้ ตลอดเวลา และจาก
ความยืดหยุ่นตรงนี้นั่นเอง ที่ทำให้เราสามารถขยายผลไปในส่วนงานอื่นๆ ได้"

3.เราชอบผู้นำทางวิชาการในประเด็นอะไร
-เป็นบุคคลที่สนุกสนาน เฮฮา ขยัน มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงานและจะเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเยาวชนต่อไป



วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่2

 1.ศึกษาทฤษฎีและหลักการ(เจ้าของทฤษฎี)
           
ทฤษฎีทางการบริหารและวิวัฒนาการการบริหารการศึกษา     ระยะที่ 1 ระหว่าง ค.ศ. 1887 – 1945 (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 10) ยุคนักทฤษฎี การบริหารสมัยดั้งเดิม (The Classical organization theory) แบ่งย่อยเป็น 3 กลุ่มดังนี้
          1.กลุ่มการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ของเทย์เลอร์(Scientific Management)ของ เฟรดเดอริก เทย์เลอร์ (Frederick Taylor) ความมุ่งหมายสูงสุดของแนวคิดเชิงวิทยาศาสตร์คือ จัดการบริหารธุรกิจหรือโรงงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด Taylor มองคนงานแต่ละคนเปรียบเสมือนเครื่องจักรที่สามารถปรับปรุงเพื่อเพิ่มผลผลิตขององค์การได้ เจ้าของตำรับ “The one best way” คือประสิทธิภาพของการทำงานสูงสุดจะเกิดขึ้นได้ต้องขึ้นอยู่กับสิ่งสำคัญ 3 อย่างคือ
                1.1 เลือกคนที่มีความสามารถสูงสุด (Selection)
                1.2 ฝึกอบบรมคนงานให้ถูกวิธี (Training)
                1.3 หาสิ่งจูงใจให้เกิดกำลังใจในการทำงาน (Motivation)
                        เทย์เลอร์ ก็คือผลผลิตของยุคอุตสาหกรรมในงานวิจัยเรื่อง “Time and Motion Studies” เวลาและการเคลื่อนไหว เชื่อว่ามีวิธีการการทางวิทยาศาสตร์ที่จะบรรลุวัตถุประสงค์เพียงวิธีเดียวที่ดีที่สุด เขาเชื่อในวิธีแบ่งงานกันทำ ผู้ปฏิบัติระดับล่างต้องรับผิดชอบต่อระดับบน เทย์เลอร์ เสนอ ระบบการจ้างงาน(จ่ายเงิน)บนพื้นฐานการสร้างแรงจูงใจ สรุปหลักวิทยาศาสตร์ของเทยเลอร์สรุปง่ายๆประกอบด้วย 3 หลักการดังนี้
               1. การแบ่งงาน (Division of Labors)
               2. การควบคุมดูแลบังคับบัญชาตามสายงาน (Hierarchy)
               3. การจ่ายค่าจ้างเพื่อสร้างแรงจูงใจ (Incentive payment)
          2. กลุ่มการบริหารจัดการ(Administration Management) หรือ ทฤษฎีบริหารองค์การอย่างเป็นทางการ(Formal Organization Theory ) ของ อังรี ฟาโยล (Henri Fayol) บิดาของทฤษฎีการปฏิบัติการและการจัดการตามหลักบริหาร ทั้ง Fayol และ Taylor จะเน้นตัวบุคลปฏิบัติงาน + วิธีการทำงาน ได้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลแต่ก็ไม่มองด้าน จิตวิทยา” (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 17)Fayol ได้เสนอแนวคิดในเรื่องหลักเกี่ยวกับการบริหารทั่วไป 14 ประการ แต่ลักษณะที่สำคัญ มีดังนี้
              2.1 หลักการทำงานเฉพาะทาง (Specialization) คือการแบ่งงานให้เกิดความชำนาญเฉพาะทาง
                    2.2 หลักสายบังคับบัญชา เริ่มจากบังคับบัญชาสูงสุดสู่ระดับต่ำสุด
                    2.3 หลักเอกภาพของบังคับบัญชา (Unity of Command)
                    2.4 หลักขอบข่ายของการควบคุมดูแล (Span of control) ผู้ดูแลหนึ่งคนต่อ 6 คนที่จะอยู่ใต้การดูแลจึงจะเหมาะสมและมีประสิทธิภาพที่สุด
                    2.5 การสื่อสารแนวดิ่ง (Vertical Communication) การสื่อสารโดยตรงจากเบื้องบนสู่เบื้องล่าง
      2.6 หลักการแบ่งระดับการบังคับบัญชาให้น้อยที่สุด คือ ไม่ควรมีสายบังคับบัญชายืดยาวหลายระดับมากเกินไป
                    2.7 หลักการแบ่งความรับผิดชอบระหว่างสายบังคับบัญชาและสายเสนาธิการ (Line and Staff Division)
          3. ทฤษฎีบริหารองค์การในระบบราชการ(Bureaucracy) มาจากแนวคิดของ แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) ที่กล่าวถึงหลักการบริหารราชการประกอบด้วย
                    3.1 หลักของฐานอำนาจจากกฎหมาย
                    3.2 การแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบ ที่ต้องยึดระเบียบกฎเกณฑ์
                    3.3 การแบ่งงานตามความชำนาญการเฉพาะทาง
                    3.4 การแบ่งงานไม่เกี่ยวกับผลประโยชน์ส่วนตัว
                    3.5 มีระบบความมั่นคงในอาชีพ
                        จะอย่างไรก็ตามระบบราชการก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งในด้าน ข้อเสีย คือ สายบังคับบัญชายืดยาวการทำงานต้องอ้างอิงกฎระเบียบ จึงชักช้าไม่ทันการแก้ไขปัญหาในปัจจุบัน เรียกว่า ระบบ “Red tape” ในด้านข้อดี คือ ยึดประโยชน์สาธารณะเป็นหลัก การบังคับบัญชา การเลื่อนขั้นตำแหน่งที่มีระบบระเบียบ แต่ในปัจจุบันระบบราชการกำลังถูกแทรกแซงทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ ทำให้เริ่มมีปัญหา
             ระยะที่ 2  ระหว่าง ค.ศ. 1945 – 1958 (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 10) ยุคทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์ (Human Relation ) Follette ได้นำเอาจิตวิทยามาใช้และได้เสนอการแก้ปัญหาความขัดแย้ง(Conflict) ไว้ 3 แนวทางดังนี้
              1. Domination คือ ใช้อำนาจอีกฝ่ายสยบลง คือให้อีกฝ่ายแพ้ให้ได้ ไม่ดีนัก
              2. Compromise คือ คนละครึ่งทาง เพื่อให้เหตุการณ์สงบโดยประนีประนอม
              3. Integration คือ การหาแนวทางที่ไม่มีใครเสียหน้า ได้ประโยชน์ทั้ง 2 ทาง
ระยะที่ 3 ตั้งแต่ ค.ศ. 1958 – ปัจจุบัน (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 11) ยุคการใช้ทฤษฎีการบริหาร(Administrative Theory)หรือการศึกษาเชิงพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Science Approach) ยึดหลักระบบงาน + ความสัมพันธ์ของคน + พฤติกรรมขององค์การ ซึ่งมีแนวคิด หลักการ ทฤษฎีที่หลายๆคนได้แสดงไว้ดังต่อไปนี้
        1.เชสเตอร์ ไอ บาร์นาร์ด (Chester I Barnard ) เขียนหนังสือชื่อ The Function of The Executive ที่กล่าวถึงงานในหน้าที่ของผู้บริหารโดยให้ความสำคัญต่อบุคคลระบบของความร่วมมือองค์การ และเป้าหมายขององค์การ กับความต้องการของบุคคลในองค์การต้องสมดุลกัน
        2.ทฤษฎีของมาสโลว์ ว่าด้วยการจัดอันดับขั้นของความต้องการของมนุษย์ (Maslow – Hierarchy of needs) เป็นเรื่องแรงจูงใจแบ่งความต้องการของมนุษย์ตั้งแต่ความต้องการด้านกายภาพ ความต้องการด้านความปลอดภัยความต้องการด้านสังคม ความต้องการด้านการเคารพ นับถือ และประการสุดท้าย คือ การบรรลุศักยภาพของตนเอง (Self actualization) คือมีโอกาสได้พัฒนาตนเองถึงขั้นสูงสุดจากการทำงาน แต่ความต้องการเหล่านั้นต้องได้รับการสนองตอบตามลำดับขั้น
        3.ทฤษฎี X ทฤษฎี Y ของแมคกรีกอร์(Douglas MC Gregor Theory X, Theory Y ) เขาได้เสนอแนวคิดการบริหารอยู่บนพื้นฐานของข้อสมมติฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ต่างกัน ทฤษฎี X(The Traditional View of Direction and Control) ทฤษฎีนี้เกิดข้อสมติฐานดังนี้
1. คนไม่อยากทำงาน และหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ
                    2. คนไม่ทะเยอทะยาน และไม่คิดริเริ่ม ชอบให้การสั่ง
                    3. คนเห็นแก่ตนเองมากกว่าองค์การ
                    4. คนมักต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
                    5. คนมักโง่ และหลอกง่าย
                ผลการมองธรรมชาติของมนุษย์เช่นนี้ การบริหารจัดการจึงเน้นการใช้เงิน วัตถุ เป็นเครื่องล่อใจ เน้นการควบคุม การสั่งการ เป็นต้น
               ทฤษฎี Y(The integration of Individual and Organization Goal) ทฤษฎีข้อนี้เกิดจากข้อสมติฐานดังนี้
                    1. คนจะให้ความร่วมมือ สนับสนุน รับผิดชอบ ขยัน
                    2. คนไม่เกียจคร้านและไว้วางใจได้
                    3. คนมีความคิดริเริ่มทำงานถ้าได้รับการจูงใจอย่างถูกต้อง
                    4. คนมักจะพัฒนาวิธีการทำงาน และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
              ผู้บังคับบัญชาจะไม่ควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเข้มงวด แต่จะส่งเสริมให้รู้จักควบคุมตนเองหรือของกลุ่มมากขึ้น ต้องให้เกียรติซึ่งกันและกันจากความเชื่อที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดระบบการบริหารที่แตกต่างกันระหว่างระบบที่เน้นการควบคุมกับระบบที่ค่อนข้างให้อิสระภาพ
        4.อูชิ (Ouchi ) ชาวญี่ปุ่นได้เสนอ ทฤษฎี Z (Z Theory) (William G. Ouchi) ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัย UXLA (I of California Los Angeles) ทฤษฎีนี้รวมเอาหลักการของทฤษฎี X , Y เข้าด้วยกัน แนวความคิดก็คือ องค์การต้องมีหลักเกณฑ์ที่ควบคุมมนุษย์ แต่มนุษย์ก็รักความเป็นอิสระ และมีความต้องการหน้าที่ของผู้บริหารจึงต้องปรับเป้าหมายขององค์การให้สอดคล้องกับเป้าหมายของบุคคลในองค์การ
2.  นำหลักการดังกล่าวไปใช้อย่างไร
     การตอบสนองคน ด้านความต้องการศักดิ์ศรี การยกย่อง จะส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานจากแนวคิด มนุษยสัมพันธ์

ที่มา 
http://www.kru-itth.com/

กิจกรรมที่1

การบริหารจัดการชั้นเรียน ประกอบด้วยความคิด การวางแผนและการปฏิบัติทั้งหลายทั้งปวงของครูที่
สร้างสรรค์สภาพแวดล้อมอย่างเป็นระบบระเบียบและส่งเสริมการเรียนรู้ โดยมีเป้าหมายของการ
จัดการบริหาร (Management Goals) มี 2 ประการสำคัญ คือ
1. รังสรรค์สิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่จะส่งเสริมให้การเรียนรู้มีความเป็นไปได้มากที่สุด
และครูจะสามารถสะท้อนการปฏิบัติงานของตนเองด้วยการถามตนเองสม่ำเสมอว่าระบบการ
บริหารขัดการเอื้ออำนวยให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างไร เพียงใด
2. พัฒนานักเรียนให้มีศักยภาพในการจัดการและนำตนเองให้สามารถเรียนรู้ได้ด้วย
ตนเอง ดังนั้น การบริหารจัดการชั้นเรียนจึงเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความเข้าใจ
ด้วยตนเอง ประเมินตนเองและควบคุมดูแลตนเองได้เหมาะสมตามวัย

แนะนำตนเอง

นางสาวดวงพร   พรหมศาสน์
ชื่อเล่น น่า
รหัสประจำตัว 5111116103
หลักสูตรสังคมศึกษา ห้อง2
คระครุศาสตร์
จบจากโรงเรียนอัลมูวาห์ฮิดีน อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช
ปรัชญา  ทำวันนี้ให้ดีที่สุด